คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ประวัติคณะรัฐศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 ส่งผลให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ซึ่งนี่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือ หลังการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้จัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในฐานะส่วนหนึ่งของหลักสูตร “ธรรมศาสตร์บัณฑิต” (ธ.บ.) สำหรับระดับชั้นปริญญาตรี ขณะที่ระดับชั้นปริญญาโท และปริญญาเอก มีการแยกหลักสูตรออกเป็น 3 ทาง ได้แก่ หลักสูตรรัฐศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตร์ และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 ส่งผลให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.) ขึ้นในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ซึ่งนี่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทย กล่าวคือ หลังการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้จัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในฐานะส่วนหนึ่งของหลักสูตร “ธรรมศาสตร์บัณฑิต” (ธ.บ.) สำหรับระดับชั้นปริญญาตรี ขณะที่ระดับชั้นปริญญาโท และปริญญาเอก มีการแยกหลักสูตรออกเป็น 3 ทาง ได้แก่ หลักสูตรรัฐศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตร์ และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์

สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความผันผวนทางการเมือง ตลอดจนสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรมหาวิทยาลัยใหม่ จึงได้มีการตรา “ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492” ซึ่งข้อบังคับนี้นำไปสู่การจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยในการร่างหลักสูตร คณบดี และคณะกรรมการของคณะได้ศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างหลักสูตรจำนวนมากจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากมูลนิธิ Fulbright ซึ่งเข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ณ สมัยนั้นด้วย

สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความผันผวนทางการเมือง ตลอดจนสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรมหาวิทยาลัยใหม่ จึงได้มีการตรา “ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492” ซึ่งข้อบังคับนี้นำไปสู่การจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2492 โดยในการร่างหลักสูตร คณบดี และคณะกรรมการของคณะได้ศึกษาเปรียบเทียบตัวอย่างหลักสูตรจำนวนมากจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากมูลนิธิ Fulbright ซึ่งเข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ณ สมัยนั้นด้วย

ต่อมาปี พ.ศ. 2498 ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสหรัฐฯ คณะรัฐศาสตร์ก็ตั้งแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาโท โดยจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบภาษาอังกฤษ และภาษาไทย พอปี พ.ศ. 2502 แผนกการทูตในระดับชั้นปริญญาตรีจึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก (หลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาเป็นเวลาช้านาน) ติดตามมาด้วยแผนกบริหารรัฐกิจ และแผนกรัฐศาสตร์ศึกษา

ต่อมาปี พ.ศ. 2498 ขณะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำลังได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากสหรัฐฯ คณะรัฐศาสตร์ก็ตั้งแผนกวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาโท โดยจัดการเรียนการสอนทั้งในระบบภาษาอังกฤษ และภาษาไทย พอปี พ.ศ. 2502 แผนกการทูตในระดับชั้นปริญญาตรีจึงถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก (หลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาเป็นเวลาช้านาน) ติดตามมาด้วยแผนกบริหารรัฐกิจ และแผนกรัฐศาสตร์ศึกษา

ช่วงต้นทศวรรษที่ 2510 ถึงทศวรรษที่ 2520 มีการปรับโครงสร้างเกิดขึ้นเป็นระยะ เพื่อความเหมาะสมทางวิชาการ มีการยุบรวมแผนกปรัชญาการเมือง จนท้ายที่สุด คณะรัฐศาสตร์ก็เหลือแผนกอยู่ทั้งหมด 3 แผนก คือ แผนกการปกครอง แผนกบริหารรัฐกิจ และแผนกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (แผนกการทูตเดิม) ซึ่งนี่เป็นโครงสร้างที่ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี คณะรัฐศาสตร์ยังคงพยายามปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาการใหม่ๆ ในทางวิชาการ ช่วงทศวรรษที่ 2530 นอกเหนือจากการริเริ่มโครงการความร่วมมือมากมายกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งใน และนอกประเทศ คณะรัฐศาสตร์ยังเปิดหลักสูตรพิเศษในระดับปริญญาโทขึ้น 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้บริหารสาขาบริหารรัฐกิจ (EPA) หลักสูตรปริญญาโทสาขาการปกครอง สำหรับผู้บริหาร (MPE) และหลักสูตรปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MIR) โดยหลักสูตรสุดท้ายจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

ช่วงต้นทศวรรษที่ 2510 ถึงทศวรรษที่ 2520 มีการปรับโครงสร้างเกิดขึ้นเป็นระยะ เพื่อความเหมาะสมทางวิชาการ มีการยุบรวมแผนกปรัชญาการเมือง จนท้ายที่สุด คณะรัฐศาสตร์ก็เหลือแผนกอยู่ทั้งหมด 3 แผนก คือ แผนกการปกครอง แผนกบริหารรัฐกิจ และแผนกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (แผนกการทูตเดิม) ซึ่งนี่เป็นโครงสร้างที่ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดี คณะรัฐศาสตร์ยังคงพยายามปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาการใหม่ๆ ในทางวิชาการ ช่วงทศวรรษที่ 2530 นอกเหนือจากการริเริ่มโครงการความร่วมมือมากมายกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งใน และนอกประเทศ คณะรัฐศาสตร์ยังเปิดหลักสูตรพิเศษในระดับปริญญาโทขึ้น 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้บริหารสาขาบริหารรัฐกิจ (EPA) หลักสูตรปริญญาโทสาขาการปกครอง สำหรับผู้บริหาร (MPE) และหลักสูตรปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MIR) โดยหลักสูตรสุดท้ายจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

ล่าสุดในปี พ.ศ. 2552 หลังเตรียมความพร้อมมาเป็นเวลาหลายปี ทางคณะก็ตัดสินรักษาความเป็นผู้นำทางวิชาการด้วยการเป็นคณะรัฐศาสตร์แห่งแรกของประเทศที่เปิดหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษสำหรับสาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ ซึ่งก็คือ หลักสูตร BMIR การเปิดหลักสูตรนี้ทำให้คณะมีความเป็นนานาชาติเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จำนวนมหาวิทยาลัยคู่สัญญาในต่างประเทศมีมากขึ้นแบบก้าวกระโดด เช่นเดียวกับจำนวนนักศึกษา และคณาจารย์ชาวต่างชาติ

ชื่อ – นามสกุลวัน เดือน ปี ที่ดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดิเรก  ชัยนาม ตั้งแต่  19 มิ.ย. 2492 – 19 ธ.ค. 2495
   2. ศาสตราจารย์ มาลัย  หุวะนันทน์ ตั้งแต่  20 ธ.ค. 2495 – 1 ก.ค. 2499
   3. ศาสตราจารย์ ทวี  แรงขำ ตั้งแต่  2 ธ.ค. 2499 – 4 เม.ย. 2512
   4. ศาสตราจารย์ ปกรณ์  อังศุสิงห์ ตั้งแต่  5 เม.ย. 2512 – 9 ก.พ. 2516
   5. ศาสตราจารย์ ดร.กมล  เภาพิจิตร ตั้งแต่  10 ก.พ. 2516 – 7 ม.ค. 2518
   6. อาจารย์ อนันต์  เกตุวงศ์ ตั้งแต่  8 ม.ค. 2518 – 22 พ.ค. 2520
   7. ศาสตราจารย์  ไพโรจน์  ชัยนาม ตั้งแต่  23 พ.ค. 2520 – 5 ม.ค. 2521
   8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรนิติ  เศรษฐบุตร ตั้งแต่  4 เม.ย. 2521 – 30 มิ.ย. 2522
   9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณ  รักธรรม ตั้งแต่  21 ก.ย. 2522 – 30 ต.ค. 2523
   10. อาจารย์ ชัช  กิจธรรม ตั้งแต่  6  มี.ค. 2524 – 5 มี.ค. 2526
   11. รองศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต  ธีรเวคิน ตั้งแต่  6 พ.ค. 2526 – 15 พ.ค. 2528
   12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระดม  วงษ์น้อม ตั้งแต่  31 พ.ค. 2528 – 31 ส.ค. 2530
   13. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย  ศิริไกร ตั้งแต่  1 ก.ย. 2530 – 3 ต.ค. 2533
   14. รองศาสตราจารย์ วิสุทธิ์  โพธิแท่น ตั้งแต่  4 ต.ค. 2533 – 31 ต.ค. 2536
   15. ดร.เสกสรรค์  ประเสริฐกุล ตั้งแต่  1 พ.ย. 2536 – 1 พ.ย. 2538
   16. รองศาสตราจารย์ ดร.โคริน  เฟื่องเกษม ตั้งแต่  17 ม.ค. 2539 – 4 มี.ค. 2542
   17. รองศาสตราจารย์ ดร.เอนก  เหล่าธรรมทัศน์ ตั้งแต่  5 มี.ค. 2542 – 14 ต.ค. 2543
   18. รองศาสตราจารย์ ดร.โคริน  เฟื่องเกษม ตั้งแต่  1 ก.พ. 2544 – 31 ม.ค. 2547
   19. รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์  เมฆไตรรัตน์ ตั้งแต่  1 ก.พ. 2547 – 31 ม.ค. 2553
   20. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร  วัชชวัลคุ ตั้งแต่  1 ก.พ. 2553 – 31 ม.ค.2556
   21. รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์  ชัชวาลย์ ตั้งแต่  1 ก.พ. 2556 – 31 ก.ค.2561
   22. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา  กมลเวชช ตั้งแต่  1 ส.ค. 2561 – ปัจจุบัน

Scroll to Top